วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การบูรณาการกับสาระวิชา การงานอาชีพ

การนำเสนองาน (Presentation) ให้ได้ใจผู้ฟัง

     การนำเสนองาน (Presentation) เป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพนักงานทุกๆระดับในองค์กร เช่น พนักงานขายในบริษัทบางแห่ง ต้องใช้ทักษะการนำเสนองานอยู่เสมอในระหว่างขั้นตอนการขาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานเพื่อแนะนำองค์กร เพื่อนำเสนอคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสินค้าและบริการ รวมไปถึงการสาธิตวิธีการใช้งาน นอกจากนั้น การนำเสนองานยังนำมาใช้ภายในองค์กร เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร หรือ ขอความร่วมมือในโครงการต่างๆ
การนำเสนองานที่ประสบความสำเร็จนั้น เกิดขึ้นจากองค์ประกอบ 3 ประการ ด้วยกัน 1) การกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์ผู้ฟัง 2) การวางโครงสร้างเนื้อหาการนำเสนอ และ 3) วิธีการนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการวิเคราะห์ผู้ฟัง ซึ่งหมายถึง การวิเคราะห์ความต้องการ ความสนใจ หรือความกังวลใจของผู้ฟัง รวมถึงความเข้าใจในสไตล์ ความชอบของผู้ฟัง เพื่อให้สามารถออกแบบโครงสร้างและเนื้อหาการนำเสนอที่มีความเหมาะสม สอดคล้องและโดนใจผู้ฟัง      จากคำกล่าวที่ว่า ‘รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง’ เมื่อรู้ว่าผู้ฟังเป็นใคร มีบทบาทอย่างไร ใครเป็นผู้ฟังคนสำคัญ (Key Persons) รู้ความต้องการของผู้ฟังคนสำคัญ หรือที่เรียกว่า ‘รู้เขา’ ส่วน ‘รู้เรา’ หมายถึง ผู้นำเสนอต้องกำหนดวัตถุประสงค์การนำเสนอที่ชัดเจนว่า ผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการจากการนำเสนอคืออะไร ผู้ฟังต้องทำอะไร ภายหลังเสร็จสิ้นการนำเสนอ
     วัตถุประสงค์การนำเสนอ เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางให้แก่ผู้นำเสนอในการวางแผนและพัฒนาเนื้อหาการนำ เสนอ รวมไปถึงรูปแบบหรือลีลาการนำเสนอ วัตถุประสงค์ในการนำเสนออาจเป็น เพื่อสร้างความมั่นใจ หรือโน้มน้าวชักจูงให้ผู้ฟังเชื่อและกระทำการบางสิ่งบางอย่าง  หรือเพื่อแจ้งให้ผู้ฟังทราบเพื่อให้เกิดความเข้าใจและให้ความร่วมมือ
      เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และทราบความต้องการของผู้ฟังแล้ว ผู้นำเสนอก็สามารถวางโครงสร้างเนื้อหาการนำเสนอที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และความต้องการของผู้ฟัง ซึ่งเนื้อหาการนำเสนอต้องมีความน่าเชื่อถือ โน้มน้าวและจูงใจผู้ฟัง รวมถึงมีความเป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้ผู้ฟังติดตามได้ง่าย ไม่สับสน นอกจากนั้น ผู้นำเสนอยังต้องสามารถเปิดการนำเสนอที่ทรงพลัง ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร และแนะนำตนเองในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเชื่อถือ กำหนดโทนการนำเสนอให้ชัดเจนว่าจะให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการนำเสนอมากน้อย เพียงใด
     ในส่วนของการปิดการนำเสนอ เป็นส่วนสุดท้ายของการนำเสนอที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการตอกย้ำให้ผู้ฟังเห็นถึงคุณประโยชน์ของสินค้าหรือบริการ หรือตอกย้ำประเด็นสำคัญที่ตรงกับความต้องการของผู้ฟัง โดยผู้นำเสนอต้องไม่ลืมที่จะขอข้อผูกมัดจากผู้ฟังเกี่ยวกับการดำเนินการใน ขั้นตอนต่อไป
     อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้นำเสนอจะวิเคราะห์ วางแผน และวางโครงสร้างเนื้อหาการนำเสนอไว้อย่างดีเพียงใด หากผู้นำเสนอไม่มีวิธีการหรือลีลาการนำเสนอที่โน้มน้าว หรือสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฟัง การนำเสนอนั้นก็อาจประสบความล้มเหลวได้ ผู้นำเสนอจึงต้องสามารถใช้สายตา ภาษากาย กิริยาท่าทาง น้ำเสียง ภาษา ที่สอดคล้องกับเนื้อหาการนำเสนอ สร้างความเชื่อมั่น ดึงดูดและโน้มน้าวผู้ฟัง รวมถึงสามารถโต้ตอบกับผู้ฟังได้อย่างเหมาะสมและน่าเชื่อถือ
     สรุปแล้ว การนำเสนอที่ประสบความสำเร็จ หมายถึงการนำเสนอที่เน้นผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ ตัวผู้นำเสนอเป็นศูนย์กลาง ผู้นำเสนอควรใช้เวลาในการวิเคราะห์ผู้ฟัง เพื่อให้สามารถปรับเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอให้สอดคล้องและมีประสิทธิผลสูง สุด การวางแผนจึงป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในการนำเสนอ เพราะการวางแผนที่ดี และความแม่นยำในเนื้อหาการนำเสนอ จะช่วยสร้างความมั่นใจ และทำให้ลีลาการนำเสนอเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ จริงใจ และสร้างความมั่นใจแก่ผู้ฟังได้ในที่สุด

   แหล่งอ้างอิง  http://www.oknation.net/blog/nationejobs/2009/11/11/entry-1




 

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การบูรณาการสาระวิชา ศิลปะ

การออกแบบผลิตภัณฑ์ [product design] คือการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ในรูปสินค้า เพื่อให้ผ่านไปยังผู้บริโภค[consumer]ในวงกว้าง โดยที่รูปแบบและคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะเป็นปัจจัยสำคัญ ชักจูงผู้บริโภคให้เกิดความกระหายที่จะจ่ายเงินซ้อผลิตภัณฑ์นั้น


จากข้อสรุปข้างต้น การออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายด้านซึ่งควรจะได้พิจารณาคือ


1.การออกแบบที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์


2.การออกแบบที่สัมพันธ์กับวัสดุและกระบวนการผลิต


3. การออกแบบที่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้บริโภค


4.การออกแบบที่มีคุณค่าทางความงาม


การออกแบบที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์


การออกแบบผลิตภัณฑ์ ควรต้องพิจารณาถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นประการแรกเพื่อจะได้ออกแบบให้ได้ความคงทนถาวรมากน้อย หรือให้เหมาะสมกับการใช้เพียงชั่วคราวของผลิตภัณฑ์นั้น เพราะการออกแบบจะต้องคำนึงถึงวัสดุและเวลาการผลิตไปพร้อมกัน ถ้าออกแบบโดยไม่ได้ศึกษาถึงคุณภาพตามเป้าหมายของการผลิตแล้ว ก็ไม่สามารถออกแบบที่เหมาะสมได้


การออกแบบที่สัมพันธ์กับวัสดุและกระบวนการผลิต


ในที่นี้ใคร่ขอย้ำทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยตรง ด้วยการผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ กำลังการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จำนวนมาก มีความจำเป็นยิ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตเช่น เครื่องจักรกล หรือเครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ย่อมเหมาะสมกับวัสดุอย่างหนึ่ง ทำให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องพิจารณาถึงวัสดุและกระบวนการผลิตไปพร้อมกัน


การออกแบบที่สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอย


หน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องพิจารณา แม้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องกลไกซับซ้อน ผู้ออกแบบจะไม่รู้ระบบการทำงานของผลิตภัณฑ์นั้นทั้งหมด ก็ควรจะรู้การทำงานของผลิตภัณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ หรือแม้แต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องกลไก ผู้ออกแบบจะต้องทำความเข้าใจกับหน้าที่ใช้สอยเป็นประการสำคัญด้วย


การออกแบบที่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้บริโภค


อาจจะพิจารณาได้ 2 แง่คือความต้องการที่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ กับการสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ


ความต้องการที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่เป็นความต้องการที่เหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรม รสนิยม และการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆความต้องการของผู้บริโภคยังเกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจโดยตรงอีกด้วย ถ้าสภาพสังคมที่กำลังเศรษฐกิจตกต่ำการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ราคาสูง สินค้าฟุ่มเฟือย หรือเน้นความงามทางการออกแบบมากจนผลิตภัณฑ์นั้นราคาสูง การออกแบบเช่นนี้ อาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้


การออกแบบที่มีคุณค่าทางความงาม


เพื่อให้ผู้ออกแบบตระหนักถึงความงามที่เด่นชัดร่วมสมัย และมีความคิดสร้างสรรค์แทรกอยู่ในการออกแบบแต่ละชิ้น ความประณีตบรรจงในการออกแบบหรือในผลิตภัณฑ์เป็นคุณค่าส่วนหนึ่งของความงามอีกด้วย nn

  แหล่งอ้างอิง  http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=120488

การทับดอก

วิธีทำ  เมื่อเราเตรียมดอกได้แล้ว วิเคราะห์ว่าเป็นลักษณะอย่างไร ถ้าเป็นดอกเล็กๆ หรือบางๆ เช่น ดอกดาวกระจาย ทรงบาดาล ก็ไมต้องทำอะไร แต่ถ้าเป้นดอกใหญ่หรือมีดอกว้อนกันมากมาย เช่น
 ดอกกุหลาบ คาร์เนชั่น ควรนำมาตัดแต่งก่อน เช่น ตัดส่วนโคนดอกก่อน ดึงกลีบทีชำรุด ถ้าเด็ดออกที่ละกลีบก็จะแห้งเร็ว ถ้าจำพวกกล้ยไม้ ตัดส่วนที่เป็นกระเปาะออกเลย แล้วกดกลีบดอกกับกระดาษทราย
เล็กน้อย จะทำให้ดอกแห้งเร็วขึ้น
    
          ใช้แผ่นกระดาษสีขาว วางรองก่อนเป็นชั้นแรกเรียงกลีบดอกไม้ที่เตรียมไว้ ห่างพอสมควรอย่าซ้อนกัน เมื่อเต็ทพื้นที่แล้วใช้กระดาษสีขาวอีกแผ่นวางซ้อนทับหลังจากนั้นใช้กระดาษทับ ( ใช้ทิชชู
แทนก็ได้ 3 - 4 ชั้น ) วางซ้อนลงไปอีกเป็นอันว่าเสร็จ นำไว้สอดในสมุดโทรศัพท์หน้าที่เหลืองที่นักเรียน
มีอยู่ทำหลายๆ ชั้นจนหมดดอก

   แหล่งอ้างอิง http://www.sahavicha.com/

ความหมาย ของ บุษบาแปลงโฉม ครั้งที่ ๒

แปลง หมายถึง ที่โล่งๆแปลงหนึ่ง,พื้นที่ที่กำหนดไว้แหล่งหนึ่งๆที่เป็นแหล่งโคลนแฉะ,เปลี่ยนสิ่งเดิมให้แปลงออกไป,เปลี่ยนรูปทั้งหมดให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง,เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน,เปลี่ยนจากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย

โฉม หมายถึง รูปร่าง,ทรวดทรง,เค้างาม,ชื่อผักชนิดหนึ่ง

   แหล่งอ้างอิง พจนานุกรมฉบับนักเรียน รวบรวม - เรียบเรียงโดย สุทธิ ภิบาลแทน พิมพ์ครั้งที่ 8 

การบูรณาการวิชาสังคมศึกษา ( เศรษศาสตร์ )

      วิธีการนับนิรภัย : เป็นวิธีการศึกษาจากกรณีทั่วไป แล้วนำไปสรุปเป็นกรณีเฉพาะโดยใช้ลำดับ และเหตุผลจากทฤฎี เศษฐศาสตร์ โดยวิธีการนับ 3 ขั้นตอน คือ

- ตั้งข้อสมมุติฐาน สมมุติฐานอาจอยู่ในรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ( Variables ) ต่างๆ ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ยกตัวอย่างในจากทฤฎีอุปทานได้ตั้งสมมุติฐานว่าปริมาณที่จะแปนผันกับระดับราคา
ซึ่งอาจเขียนในภาษาคณิตศาสตร์ ได้ดังนี้

                                   Q = f ( p )          เมื่อ Q  คือปริมาณซื้อ
                                                                         a
                                                            และ  p คือราคา

การบูรณาการสาระภาษาต่างประเทศ

สาระวิชาภาษาอังกฤษ

            Fiower                     ดอกไม้
            Plot                          แปลง
            Appearance             โฉม
            Gourami                   ใบไม้
            Rose                         กุหลาบ
            Rauvolfia  serpentine ดอกเข็ม
            orchid                       กล้วยไม้
            chinese rose              ชบา
            rain tree                     ฉำฉา
            jackfruit                     ขนุน
            mahogany                  ต้นมะฮอกกานี
            baking                       การอบ
            airing                         การตาก
            deceit                        การต้ม
            ribben                       ริบบิ้น
            atter                          หัวน้ำหอม
            toothbrush                 แปรงสีฟัน
            scissors                     กรรไกร
            tile                            กระเบื้อง
            souvenir                    ของที่ระลึก

แหล่งอ้างอิง พจนานุกรมภาษาอังกฤษ

การเขียนบันทึก

การเขียนบันทึก

การเขียนบันทึก
     การเขียนบันทึก คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ความรูหรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่งที่มาหรือวัน เวลา ที่จดบันทึกได้ด้วย
   ประเภทของการเขียนบันทึก มี ๒ ประเภท ดังนี้
   ๑.การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป้นการเขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป้นการบันทึกความรู้ เตือนความจำบรรยาย ความรุ้สึก หรือแสดงข้อคิดเห็น
    สิ่งที่ต้องมีในการเขียนบันทึกเตการณ์ คือ
   ๑.วัน เดือน ปี ที่บันทึก
   ๒.แหล่งที่มาของเรื่องราวที่ได้พบเห้นมา
   ๓.บันทึกเรื่อง โดยสรุปย่อสาระสำคัญด้วยสำนวนภาษาของตน ซึ่งอาจจะแสดงข้อคิดเห็น และสรุปไว้ด้วย การเขียนบันทึกจากการค้นคว้า เป็นการสร้างนิสัยรักการอ่าน ฝึกย่อความป้องกันการลืม และประหยัดเวลา
     ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบันทึก 
   ๑.ทำความเข้าใจ เรียงลำดับความคิดและเนื้อเรื่อง
   ๒.บันทึกด้วยสำนวนภาของตนเอง ให้อ่านง่ายและเป้นระเบียบ
   ๓.บันทึกเฉพาะสาระสำคัญ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม เป้นต้น
   ๔.ฝึกบันทึกอย่างรวดเร้ว เช่น ใช้เครื่องหมายและอักษรย่อ ขีดเส้นใต้หัวข้อและประเด็นสำคัญ
     วิธีการเขียนบันทึก
   ๑.ลำดับความให้เชื่อมต่อเนื่องกัน ไวกวน เช่น
  -ตอนบ่ายงาวงนอนดูทีวีจนดึก จึงนั่งสัปหงก มาลีชวนไปเล่นวิ่งเปี้ยวเลยหายง่วง เลิกเรียน แล้วกลับบ้าน และช่วยคุณแม่ทำกับข้าว กลางคืนทำการบ้านเสร็จ แล้วรีบเข้านอน
  ๒.ลำดับเหตุการณ์ เช่น
  -วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๑.00 น. เสียงร้องเพลงดังรบกวนขณะแนกำลังนั่งดูโทรทัศน์ เวลา ๑๑.๓0 น.เสียงร้องเพลงดังกว่าเดิม จึงตะดกนถามและบอกให้ลดเสียง เวลา ๑๑.๔0 น.เสียงร้องเพลงดังกว่าเดิมเหมือนจงใจจะแกล้งฉันเลยหยุดดูโทรทัศน์ ไปทำงานอื่นแทน
    การเชื่อมโยง เช่น
  -ตอนสายเสียงร้องเพลงดัง เวลาต่อมาเสียงร้องเพลงดังมากขึ้น
     การเน้นใจความสำคัญ เช่น
  -เริ่มเรื่องร้องเพลงเสียงดัง ตะโกนถามผล เสียงร้องดังขึ้นสรุป เลิกดูดทรทัศน์หันไปทำงานอื่น ปล เหตุการณ์สงบ

แหล่งอ้างอิง http://www.okmation.net/