วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การบูรณาการกับสาระวิชา การงานอาชีพ

การนำเสนองาน (Presentation) ให้ได้ใจผู้ฟัง

     การนำเสนองาน (Presentation) เป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพนักงานทุกๆระดับในองค์กร เช่น พนักงานขายในบริษัทบางแห่ง ต้องใช้ทักษะการนำเสนองานอยู่เสมอในระหว่างขั้นตอนการขาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานเพื่อแนะนำองค์กร เพื่อนำเสนอคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสินค้าและบริการ รวมไปถึงการสาธิตวิธีการใช้งาน นอกจากนั้น การนำเสนองานยังนำมาใช้ภายในองค์กร เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร หรือ ขอความร่วมมือในโครงการต่างๆ
การนำเสนองานที่ประสบความสำเร็จนั้น เกิดขึ้นจากองค์ประกอบ 3 ประการ ด้วยกัน 1) การกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์ผู้ฟัง 2) การวางโครงสร้างเนื้อหาการนำเสนอ และ 3) วิธีการนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการวิเคราะห์ผู้ฟัง ซึ่งหมายถึง การวิเคราะห์ความต้องการ ความสนใจ หรือความกังวลใจของผู้ฟัง รวมถึงความเข้าใจในสไตล์ ความชอบของผู้ฟัง เพื่อให้สามารถออกแบบโครงสร้างและเนื้อหาการนำเสนอที่มีความเหมาะสม สอดคล้องและโดนใจผู้ฟัง      จากคำกล่าวที่ว่า ‘รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง’ เมื่อรู้ว่าผู้ฟังเป็นใคร มีบทบาทอย่างไร ใครเป็นผู้ฟังคนสำคัญ (Key Persons) รู้ความต้องการของผู้ฟังคนสำคัญ หรือที่เรียกว่า ‘รู้เขา’ ส่วน ‘รู้เรา’ หมายถึง ผู้นำเสนอต้องกำหนดวัตถุประสงค์การนำเสนอที่ชัดเจนว่า ผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการจากการนำเสนอคืออะไร ผู้ฟังต้องทำอะไร ภายหลังเสร็จสิ้นการนำเสนอ
     วัตถุประสงค์การนำเสนอ เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางให้แก่ผู้นำเสนอในการวางแผนและพัฒนาเนื้อหาการนำ เสนอ รวมไปถึงรูปแบบหรือลีลาการนำเสนอ วัตถุประสงค์ในการนำเสนออาจเป็น เพื่อสร้างความมั่นใจ หรือโน้มน้าวชักจูงให้ผู้ฟังเชื่อและกระทำการบางสิ่งบางอย่าง  หรือเพื่อแจ้งให้ผู้ฟังทราบเพื่อให้เกิดความเข้าใจและให้ความร่วมมือ
      เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และทราบความต้องการของผู้ฟังแล้ว ผู้นำเสนอก็สามารถวางโครงสร้างเนื้อหาการนำเสนอที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และความต้องการของผู้ฟัง ซึ่งเนื้อหาการนำเสนอต้องมีความน่าเชื่อถือ โน้มน้าวและจูงใจผู้ฟัง รวมถึงมีความเป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้ผู้ฟังติดตามได้ง่าย ไม่สับสน นอกจากนั้น ผู้นำเสนอยังต้องสามารถเปิดการนำเสนอที่ทรงพลัง ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร และแนะนำตนเองในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเชื่อถือ กำหนดโทนการนำเสนอให้ชัดเจนว่าจะให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการนำเสนอมากน้อย เพียงใด
     ในส่วนของการปิดการนำเสนอ เป็นส่วนสุดท้ายของการนำเสนอที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการตอกย้ำให้ผู้ฟังเห็นถึงคุณประโยชน์ของสินค้าหรือบริการ หรือตอกย้ำประเด็นสำคัญที่ตรงกับความต้องการของผู้ฟัง โดยผู้นำเสนอต้องไม่ลืมที่จะขอข้อผูกมัดจากผู้ฟังเกี่ยวกับการดำเนินการใน ขั้นตอนต่อไป
     อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้นำเสนอจะวิเคราะห์ วางแผน และวางโครงสร้างเนื้อหาการนำเสนอไว้อย่างดีเพียงใด หากผู้นำเสนอไม่มีวิธีการหรือลีลาการนำเสนอที่โน้มน้าว หรือสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฟัง การนำเสนอนั้นก็อาจประสบความล้มเหลวได้ ผู้นำเสนอจึงต้องสามารถใช้สายตา ภาษากาย กิริยาท่าทาง น้ำเสียง ภาษา ที่สอดคล้องกับเนื้อหาการนำเสนอ สร้างความเชื่อมั่น ดึงดูดและโน้มน้าวผู้ฟัง รวมถึงสามารถโต้ตอบกับผู้ฟังได้อย่างเหมาะสมและน่าเชื่อถือ
     สรุปแล้ว การนำเสนอที่ประสบความสำเร็จ หมายถึงการนำเสนอที่เน้นผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ ตัวผู้นำเสนอเป็นศูนย์กลาง ผู้นำเสนอควรใช้เวลาในการวิเคราะห์ผู้ฟัง เพื่อให้สามารถปรับเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอให้สอดคล้องและมีประสิทธิผลสูง สุด การวางแผนจึงป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในการนำเสนอ เพราะการวางแผนที่ดี และความแม่นยำในเนื้อหาการนำเสนอ จะช่วยสร้างความมั่นใจ และทำให้ลีลาการนำเสนอเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ จริงใจ และสร้างความมั่นใจแก่ผู้ฟังได้ในที่สุด

   แหล่งอ้างอิง  http://www.oknation.net/blog/nationejobs/2009/11/11/entry-1




 

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การบูรณาการสาระวิชา ศิลปะ

การออกแบบผลิตภัณฑ์ [product design] คือการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ในรูปสินค้า เพื่อให้ผ่านไปยังผู้บริโภค[consumer]ในวงกว้าง โดยที่รูปแบบและคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะเป็นปัจจัยสำคัญ ชักจูงผู้บริโภคให้เกิดความกระหายที่จะจ่ายเงินซ้อผลิตภัณฑ์นั้น


จากข้อสรุปข้างต้น การออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายด้านซึ่งควรจะได้พิจารณาคือ


1.การออกแบบที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์


2.การออกแบบที่สัมพันธ์กับวัสดุและกระบวนการผลิต


3. การออกแบบที่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้บริโภค


4.การออกแบบที่มีคุณค่าทางความงาม


การออกแบบที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์


การออกแบบผลิตภัณฑ์ ควรต้องพิจารณาถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นประการแรกเพื่อจะได้ออกแบบให้ได้ความคงทนถาวรมากน้อย หรือให้เหมาะสมกับการใช้เพียงชั่วคราวของผลิตภัณฑ์นั้น เพราะการออกแบบจะต้องคำนึงถึงวัสดุและเวลาการผลิตไปพร้อมกัน ถ้าออกแบบโดยไม่ได้ศึกษาถึงคุณภาพตามเป้าหมายของการผลิตแล้ว ก็ไม่สามารถออกแบบที่เหมาะสมได้


การออกแบบที่สัมพันธ์กับวัสดุและกระบวนการผลิต


ในที่นี้ใคร่ขอย้ำทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยตรง ด้วยการผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ กำลังการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จำนวนมาก มีความจำเป็นยิ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตเช่น เครื่องจักรกล หรือเครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ย่อมเหมาะสมกับวัสดุอย่างหนึ่ง ทำให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องพิจารณาถึงวัสดุและกระบวนการผลิตไปพร้อมกัน


การออกแบบที่สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอย


หน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องพิจารณา แม้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องกลไกซับซ้อน ผู้ออกแบบจะไม่รู้ระบบการทำงานของผลิตภัณฑ์นั้นทั้งหมด ก็ควรจะรู้การทำงานของผลิตภัณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ หรือแม้แต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องกลไก ผู้ออกแบบจะต้องทำความเข้าใจกับหน้าที่ใช้สอยเป็นประการสำคัญด้วย


การออกแบบที่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้บริโภค


อาจจะพิจารณาได้ 2 แง่คือความต้องการที่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ กับการสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ


ความต้องการที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่เป็นความต้องการที่เหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรม รสนิยม และการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆความต้องการของผู้บริโภคยังเกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจโดยตรงอีกด้วย ถ้าสภาพสังคมที่กำลังเศรษฐกิจตกต่ำการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ราคาสูง สินค้าฟุ่มเฟือย หรือเน้นความงามทางการออกแบบมากจนผลิตภัณฑ์นั้นราคาสูง การออกแบบเช่นนี้ อาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้


การออกแบบที่มีคุณค่าทางความงาม


เพื่อให้ผู้ออกแบบตระหนักถึงความงามที่เด่นชัดร่วมสมัย และมีความคิดสร้างสรรค์แทรกอยู่ในการออกแบบแต่ละชิ้น ความประณีตบรรจงในการออกแบบหรือในผลิตภัณฑ์เป็นคุณค่าส่วนหนึ่งของความงามอีกด้วย nn

  แหล่งอ้างอิง  http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=120488

การทับดอก

วิธีทำ  เมื่อเราเตรียมดอกได้แล้ว วิเคราะห์ว่าเป็นลักษณะอย่างไร ถ้าเป็นดอกเล็กๆ หรือบางๆ เช่น ดอกดาวกระจาย ทรงบาดาล ก็ไมต้องทำอะไร แต่ถ้าเป้นดอกใหญ่หรือมีดอกว้อนกันมากมาย เช่น
 ดอกกุหลาบ คาร์เนชั่น ควรนำมาตัดแต่งก่อน เช่น ตัดส่วนโคนดอกก่อน ดึงกลีบทีชำรุด ถ้าเด็ดออกที่ละกลีบก็จะแห้งเร็ว ถ้าจำพวกกล้ยไม้ ตัดส่วนที่เป็นกระเปาะออกเลย แล้วกดกลีบดอกกับกระดาษทราย
เล็กน้อย จะทำให้ดอกแห้งเร็วขึ้น
    
          ใช้แผ่นกระดาษสีขาว วางรองก่อนเป็นชั้นแรกเรียงกลีบดอกไม้ที่เตรียมไว้ ห่างพอสมควรอย่าซ้อนกัน เมื่อเต็ทพื้นที่แล้วใช้กระดาษสีขาวอีกแผ่นวางซ้อนทับหลังจากนั้นใช้กระดาษทับ ( ใช้ทิชชู
แทนก็ได้ 3 - 4 ชั้น ) วางซ้อนลงไปอีกเป็นอันว่าเสร็จ นำไว้สอดในสมุดโทรศัพท์หน้าที่เหลืองที่นักเรียน
มีอยู่ทำหลายๆ ชั้นจนหมดดอก

   แหล่งอ้างอิง http://www.sahavicha.com/

ความหมาย ของ บุษบาแปลงโฉม ครั้งที่ ๒

แปลง หมายถึง ที่โล่งๆแปลงหนึ่ง,พื้นที่ที่กำหนดไว้แหล่งหนึ่งๆที่เป็นแหล่งโคลนแฉะ,เปลี่ยนสิ่งเดิมให้แปลงออกไป,เปลี่ยนรูปทั้งหมดให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง,เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน,เปลี่ยนจากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย

โฉม หมายถึง รูปร่าง,ทรวดทรง,เค้างาม,ชื่อผักชนิดหนึ่ง

   แหล่งอ้างอิง พจนานุกรมฉบับนักเรียน รวบรวม - เรียบเรียงโดย สุทธิ ภิบาลแทน พิมพ์ครั้งที่ 8 

การบูรณาการวิชาสังคมศึกษา ( เศรษศาสตร์ )

      วิธีการนับนิรภัย : เป็นวิธีการศึกษาจากกรณีทั่วไป แล้วนำไปสรุปเป็นกรณีเฉพาะโดยใช้ลำดับ และเหตุผลจากทฤฎี เศษฐศาสตร์ โดยวิธีการนับ 3 ขั้นตอน คือ

- ตั้งข้อสมมุติฐาน สมมุติฐานอาจอยู่ในรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ( Variables ) ต่างๆ ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ยกตัวอย่างในจากทฤฎีอุปทานได้ตั้งสมมุติฐานว่าปริมาณที่จะแปนผันกับระดับราคา
ซึ่งอาจเขียนในภาษาคณิตศาสตร์ ได้ดังนี้

                                   Q = f ( p )          เมื่อ Q  คือปริมาณซื้อ
                                                                         a
                                                            และ  p คือราคา

การบูรณาการสาระภาษาต่างประเทศ

สาระวิชาภาษาอังกฤษ

            Fiower                     ดอกไม้
            Plot                          แปลง
            Appearance             โฉม
            Gourami                   ใบไม้
            Rose                         กุหลาบ
            Rauvolfia  serpentine ดอกเข็ม
            orchid                       กล้วยไม้
            chinese rose              ชบา
            rain tree                     ฉำฉา
            jackfruit                     ขนุน
            mahogany                  ต้นมะฮอกกานี
            baking                       การอบ
            airing                         การตาก
            deceit                        การต้ม
            ribben                       ริบบิ้น
            atter                          หัวน้ำหอม
            toothbrush                 แปรงสีฟัน
            scissors                     กรรไกร
            tile                            กระเบื้อง
            souvenir                    ของที่ระลึก

แหล่งอ้างอิง พจนานุกรมภาษาอังกฤษ

การเขียนบันทึก

การเขียนบันทึก

การเขียนบันทึก
     การเขียนบันทึก คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ความรูหรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่งที่มาหรือวัน เวลา ที่จดบันทึกได้ด้วย
   ประเภทของการเขียนบันทึก มี ๒ ประเภท ดังนี้
   ๑.การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป้นการเขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป้นการบันทึกความรู้ เตือนความจำบรรยาย ความรุ้สึก หรือแสดงข้อคิดเห็น
    สิ่งที่ต้องมีในการเขียนบันทึกเตการณ์ คือ
   ๑.วัน เดือน ปี ที่บันทึก
   ๒.แหล่งที่มาของเรื่องราวที่ได้พบเห้นมา
   ๓.บันทึกเรื่อง โดยสรุปย่อสาระสำคัญด้วยสำนวนภาษาของตน ซึ่งอาจจะแสดงข้อคิดเห็น และสรุปไว้ด้วย การเขียนบันทึกจากการค้นคว้า เป็นการสร้างนิสัยรักการอ่าน ฝึกย่อความป้องกันการลืม และประหยัดเวลา
     ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบันทึก 
   ๑.ทำความเข้าใจ เรียงลำดับความคิดและเนื้อเรื่อง
   ๒.บันทึกด้วยสำนวนภาของตนเอง ให้อ่านง่ายและเป้นระเบียบ
   ๓.บันทึกเฉพาะสาระสำคัญ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม เป้นต้น
   ๔.ฝึกบันทึกอย่างรวดเร้ว เช่น ใช้เครื่องหมายและอักษรย่อ ขีดเส้นใต้หัวข้อและประเด็นสำคัญ
     วิธีการเขียนบันทึก
   ๑.ลำดับความให้เชื่อมต่อเนื่องกัน ไวกวน เช่น
  -ตอนบ่ายงาวงนอนดูทีวีจนดึก จึงนั่งสัปหงก มาลีชวนไปเล่นวิ่งเปี้ยวเลยหายง่วง เลิกเรียน แล้วกลับบ้าน และช่วยคุณแม่ทำกับข้าว กลางคืนทำการบ้านเสร็จ แล้วรีบเข้านอน
  ๒.ลำดับเหตุการณ์ เช่น
  -วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๑.00 น. เสียงร้องเพลงดังรบกวนขณะแนกำลังนั่งดูโทรทัศน์ เวลา ๑๑.๓0 น.เสียงร้องเพลงดังกว่าเดิม จึงตะดกนถามและบอกให้ลดเสียง เวลา ๑๑.๔0 น.เสียงร้องเพลงดังกว่าเดิมเหมือนจงใจจะแกล้งฉันเลยหยุดดูโทรทัศน์ ไปทำงานอื่นแทน
    การเชื่อมโยง เช่น
  -ตอนสายเสียงร้องเพลงดัง เวลาต่อมาเสียงร้องเพลงดังมากขึ้น
     การเน้นใจความสำคัญ เช่น
  -เริ่มเรื่องร้องเพลงเสียงดัง ตะโกนถามผล เสียงร้องดังขึ้นสรุป เลิกดูดทรทัศน์หันไปทำงานอื่น ปล เหตุการณ์สงบ

แหล่งอ้างอิง http://www.okmation.net/
     

การบูรณาการสุขศึกษา

วิธีการทำสมาธิ
      เริ่มด้วย...นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย ถ้าไม่ถนัดจะนั่งเก้าอี้ก้ได้ จานั้น เอานิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย หลับตาเบา ๆ พอสบาย ๆ แค่ขนตาชนกัน  ..อย่าบีบเปลือกตา  ..อย่ากดลูกนัยน์ตา
      ..ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะค่อย ๆ ไล่ลงไปจนถึงปลายนิ้วเท้า  ..ผ่อนคลายให้หมด นั่งหน้ายิ้ม ๆ ทำใจให้เบิกบาน แช่มชื่น สะอาดบริสุทธิ์ ไร้กังวลในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นคน   สัตว์ หรือสิ่งของ แล้วค่อย ๆ หย่อนใจของเราเบา ๆ เหมือนขนนกที่ค่อย ๆ หย่อนตัวลงไป
สัมผัสผิวน้ำ  โดยไม่ทำให้น้ำกระเพื่อม  ..หย่อนใจไปหยุดนิ่ง ๆ นุ่ม ๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือกว่าสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ
      แล้วนึกถึงดวงแก้วกลมใส หรือองค์พระใส ๆ ..นึกธรรมดาสบาย ๆ คล้ายกับนึกถึงสิ่งที่คุ้นเคย ด้วยใจที่เยือกเย็นนึกเล่น ๆ เพลิน ๆ สบาย ๆ ให้ต่อเนื่องกัน เพื่อดึงใจของเราอย่างต่อเนื่องหลุดพ้นจากความคิดสับสนวุ่นวาย
      ถ้าใจยังชัดส่ายอยู่ ให้ภาวนาในใจเบา ๆ ว่า " สัมมาอะระหัง ๆ ๆ " ให้ดังออกมาจากกลางท้องของเราอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งไม่อยากภาวนา ก้ไม่ต้องภาวนาอีก
      แม้ในขณะเลิกนั่งสมาธิแล้ว ก็ให้นึกถึงดวงแก้ว หรือ องค์พระนี้บ่อย ๆ ในทุกอริยาบท ในทุกกิจกรรม
นั่ง นอน ยืน เดิน เข้าห้องน้ำ ล้างหน้า  แปรงฟัน อาบน้ำ รับประทานอาหาร แต่งตัว ขับรถ นึกธรรมดา ๆ
แต่นึกบ่อย ๆ เพื่อให้ใจคุ้นเคยกับศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ไม่ช้าใจก็จะหยุดนิ่งได้อย่างสมบูรณ์แล้วจะมีดวงใส ๆ บริสุทธ์ปรากฏขึ้นมา พร้อมกับความสุขที่ยิ่งใหญ่
      ฝึกต่อไปให้ชำนาญ ก็จะเห็นดวงนั้นชัดเจนสว่างอยู่ในกลางท้องของเราทั้งหลับตา ลืมตา เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย นึกให้เห็ดชัดตลอดเวลาในทุกอริยาบท
   
  ประโยชน์ของการทำสมาธิ

       ผลแห่งสมาธิ จะทำให้ชิวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จ และความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิละเอียดอ่อนก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ จนกระทั้งเข้าถึงธรรมกายบุญจากการทำสมาธิภาวนาที่เราสั่งสมไว้ในชาตินี้ จะส่งผลให้บรรลุธรรมได้โดยง่ายในชาติเบื้องหน้า และก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งจะทำให้เป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม

   แหล่งอ้างอิง
ชีวิตออกแบบได้ ._ _ กรุงเทพฯ : มูลนิธิธรรมกาย, 2550.
      

      
 

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การบูรณาการสาระวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี

            การใช้เทคโนโลยี
       กระบวนการเทคโนโลยีสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของมนุษย์อย่างเป็นระยะระบบโดยอาศัยทรัพยากรและความรู้ต่างๆ การทดสอบและประเมินผลชิ้นงานหรือวิธีการสร้างทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพตรงตามคาวมต้องการมากขึ้น นอกจากนี้ยัก่อให้เกิดการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีและสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆได้ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์การเลือกใช้เทคโนโลยีควรเหมาะสมกับปริมาณการผลิตคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งการใช้เทคโนโลยีอาจเป็นการใช้เทคโนโลยีที่เราสร้างขึ้นเองหรือเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว โดยจะเน้นไปที่คุณธรรมและจริยธรรมของการใช้เทคโนโลยี

         การเลือกใช้เทคโนโลยี
      พื้นฐานของเทคโนโลยีแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศสร้างและพัฒนาขึ้นด้วยควารมรู้และทักษะของตนเพื่อการดำเนินชีวิต ซึ่งมีทั้งสร้างสรรค์และขัดแย้ง ดังนั้น การเลือกใช้เทคโนโลยีจึงต้องคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการ ความปลอดภัย ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประเมินอย่างมีวิจาณญาณโดยใช้เกณฑ์ทางสังคมมาประกอบด้วย
      การบริโภคผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆด้วยเทคโนโลยีของท้องถิ่นไม่อาจตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอจำเป็นต้องแสวงหาจากแหล่องอื่นหรือต่างประเทศเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวอย่างไรก็ดี เทคโนโลยีแห่งหนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับอีกแห่งหนึ่งก็ได้จึงต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง


   แหล่งอ้างอิง http://kitikorn.site90.net

การบูรณาการสาระวิชา คณิตศาสตร์

1. ข้อมูลเชิงปริมาณ
      
      ข้อมูลที่แสดงปริมาณ หรือขนาดที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในลักษณะมากกว่าหรือน้อยกว่าเป็นจำนวนเท่าไร ข้อมูลประเภทนี้มักเป็นข้อมูลที่แสดง ค่าเป็นตัวเลข เช่น จำนวนนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อายูการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ อุณหภูมิ ของร่างกาย ของคนป่วยหลังจากการผ่าตัด
เป็นต้น

2. ชนิดของข้อมูลเชิงปริมาณ

      ชนิดของข้อมูลเชิงปริมาณ ( Quantitative Variable ) แบ่งข้อมูลเชิงปริมาณ ออกเป็น 2 ชนิด คือ
Counted ได้จากการนับ และ Measuerd ได้จากการ ชั่ง ตวง วัด

3. ตัวเลขที่ได้จากการนับ เป็นเลขจำนวนเต็ม ( Counted   Varible ) จะใช้สถิติ Non Parametric เช่น
chi Square เป็นเลขจำนวนเต็ม ( Discrete Varible ) % , Ratio , Proportion , table , Bar , Pic ,
Pictogram , Chi , Square , Fisher , Exact , test

4. ตัวเลขที่ได้จากการชั่งตวง มีค่าต่อเนื่อง ( Continuous ) มีทศนิยมได้หาค่า Means , Mode , Median , SD ใช้สถิติ Parametric เช่น T - test

5. ความสัมพันธ์ในเชิงข้อมูลปริมาณ เมื่อมีข้อมูลของตัวแปรสองตัวทีี่่วัดค่าเป็นตัวเลข ซึ่งเรียกว่า
ข้อมูลเชิงปริมาณ สิ่งที่น่าสนใจจากข้อมูลนี้ ได้แก่

   -  ตัวแปรทั้งสองเกี่ยวข้องกันหรือไม่
   -  ระดับความสัมพันธ์ของตัวแปรมีมากน้อยเพียงใด
   -  ความสัมพันธ์ของตัวแปรอยู่ในรูปแบบใด
   -  จะคาดคะเนตัวแปรหนึ่งจากอีกตัวแปรได้หรือไม่


แหล่งอ้างอิง http://www.panyathai.or.th./
                 http://www.panyathai.or.th./

การบูรณาการสาระวิชาวิทยาศาสตร์

     สารและการเปลี่ยนแปลง

สาร
     สสาร (Matter) หมายถึงสิ่งที่มีมวลต้องการที่อยู่และสามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ภายในสสารเป็นเนื้อของสสาร เรียกว่า สาร (Substance)

การเปลี่ยนแปลงสาร
    การเปลี่ยนแปลงสารแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
   1.การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ(Physical Change) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกี่ยวกับสมบัติกายภาพ โดยไม่มีผลต่อองค์ประกอบภายในและไม่เกิดสารใหม่ เช่น การเปลี่ยนสถานะ,การละลายน้ำ
   2.การเปลี่ยนแปลงทางเคมี (Chemistry Change) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารที่เดกี่ยวกับสมบัติทางเคมี ซึ่งมีผลต่อองค์ประกอบภายในและจะมีสมบัติต่างไปจากเดิมนั่นคือ การเกิดสาร เช่น กรดเกลือ (HCI) ทำปฏิกิริยากับลวดแมกนีเซียม (My) แล้วเกิดสารใหม่ คือ ก๊าซไฮโดรเจน (H2)

แหล่งอ้างอิง  http://blog.eduzones.com/offy/3861

    

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การทดลองทับดอกไม้สดให้แห้ง ครั้งที่ 2

                                             การทดลองครั้งที่ 2
           อุปกรณ์
    1. ดอกกุหลาบ
    2. ดอกเยอรบีร่า
    3. ดอกมัมสีขาว
    4. กระดาษทิชชู
    5. กระดาษ A4
    6. สมุดโทรศัพท์
    7. กรรไกร
    8. กระดาษแข็ง

          ขั้นตอนการปฎิบัติ
    1. ตัดกระดาษแข็งให้พอดีกับสมุดโทรศัพท์
    2. นำดอกเยอรบีร่า ดอกมัมสีขาววางทั้งดอก อย่าให้ดอกทับซ้อนกัน
    3. วางกระดาษทิชชูทับลงไป ตามด้วยกระดาษแข็ง ทำหลายๆชั้นจนดอกไม้หมด แล้วหาของหนักมาทับไว้
    4. วางที่อากาศถ่ายเทและแห้ง เปิดออกดู 2-3 วัน/ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน
    5. นำกลีบดอกกุหลาบและใบวางเรียงกันบนกระดาษ A4 ห่างกันพอสมควร
    6. เมื่อเต็มแล้วใช้กระดาษ A4 อีกแผ่นวางซ้อนทับ

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การทดลองทับดอกไม้สดให้แห้ง ครั้งที่ 1



อุปกรณ์

1. ดอกเบญมาศ
2. ดอกกล้วยไม้
3. กระเบื้อง
4. หนังสือโทรศัพท์
5. กรรไกร
6. กระดาษ A 4

ขั้นตอนวิธีการทับดอกไม้สดให้แห้ง











  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. นำดอกกล้วยไม้มาตัดเอากระเปาะออก แล้วเรียงบนกระดาษ A4 เว้นระยะห่างพอสมควร เพื่อไม่ให้ดอกติดกัน
2. นำกระดาษอีกแผ่นมาทับ แล้วใช้กระดาษทิชชูพับประมาณ 3-4 แผ่น วางทาบ
3. แล้วสอดไว้ในกระเบื้อง สังเกตการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้ 2-3 วันต่อครั้ง ประมาณ 10 วัน บันทึกผลการทดลอง
4. นำดอกเบญจมาศมาเด็ดกลีบเรียงบนกระดาษ เล้นระยะห่างพอสมควร ปิดกระดาษอีกแผ่น แล้วสอดไว้ในสมุดโทรศัพท์
5. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้ 2-3 วันต่อครั้ง ประมาณ 10 วัน บันทึกผลการทดลอง



อุปสรรค์ในการดำเนินงาน

1. เตรียมอุปกรณ์มาไม่ครบ
2. ขั้นตอนการทำผิดพลาดไม่ตรงตามที่กำหนด
3. ทำงานไม่เป็นขั้นตอนจึงทำให้เกิดความวุ่นวาย
4. แบ่งการทำงานไม่ถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หลักการพูด

           การพูด
     การพูดเป็นกิริยาของคนโดยใช้ปากและกล่องเสียงเพื่อเปร่งเสีงออกมา เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยอาศัยภาษาเป็นตัวสื่อความหมายของสิ่งที่พูด การพูดเป็นความสามารถเฉพาะของมนุษย์ แต่ก็มีสัตว์บางประเภทสามารถเลียนแบบเสียงพูดของมนุษย์ได้ เช่น นกแก้ว ผู้ที่พูดไม่ได้เรียกว่าเป็นใบ้

           องค์ประกอบของการพูด
     องค์ประกอบของการพูดมี 3 ประการดังนี้

 1. ผู้พูด
     ผู้พูดเป็นผู้ที่จะต้องถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดเห็น ความรู้สึก ตลอดจนทัศนคติของตนสู่ผู้ฟังโดยการใช้ภาษา เสียง อากับกิริยา และบุคลิกภาพของตนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงมารยาทและคุณธรรมในการพูดด้วย
    สิ่งสำคัญที่ผู้พูดจะต้องยึดไว้เป็นแนวปฎิบัติคือ ผู้พูดจะต้องรู้จักสะสมความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ แล้วรวบรวม เรียบเรียงความรู้ ความคิดเห็นเหล่านี้ให้เป็นระเบียบ เพื่อที่จะให่ถ่ายทอดให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย แจ่มแจ้ง
   การสะสมความรู้ ความคิดและประสบการณ์ ผู้พูดสามารถทำได้หลายอย่าง ผู้พูดจะต้องมีมีทักษะในการพูด การคิด และการฟัง และมีความสนใจที่จะพัฒนาบุคลิกภาพอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้พูดเกิดความมั่นใจในตนเอง

2. สาระหรือเรื่องราวที่พูด
  คือเนื้อหาสาระที่พูดออกไป ซึ่งผู้พูดจะต้องคำนึงอยู่เสมอว่า สาระที่ตนพูดนั้นจะต้องมีประโยชน์ต่อผู้ฟัง อีกทั้งควรเป็นเรื่องที่ทันสมัยใหม่ เนื้อหาจะต้องมีความชัดเจน ผู้พูดจะต้องขยายความคือ ความรูที่นำเสนอต่อผู้ฟังให้มีความกระจ่าง ซึ่งอาจขยายความด้วยการยกตัวอย่างแสดง
       การเตรียมเนื้อหาในการพูดนั้นมีขั้นตอนดังนี้
    1. การเลือกหัวข้อเรื่อง ถ้าผู้พูดมีโอกาสเลือกเรื่องที่จะพูดเอง ควรยึดหลักที่ว่าต้องเหมาะสมกับ
ผู้พูด คือเป็นเรื่องที่ผูพูดมีความรู้ในเรื่องนั้น และเหมาะสมกับผู้ฟังเป็นเรื่องที่ผู้ฟังมีความสนใจ
   2. การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตเรื่องที่จะพูด ผู้พูดจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายแต่ละครั้งให้ชัดเจนว่า ต้องการให้ความรู้โน้มน้าวใจ เพื่อการบันเทิงเพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย นอกจากนี้
ผู้พูดจะต้องกำหนดขอบเขตเรื่องที่จะพูดด้วยว่าจะคลอบคลุมเนื้อหาลึกซึ้งเพียงใด
  3. การค้นคว้าและรวบรวมความรู้ ผู้พูดจะต้องประมวลความรู้ ความคิดทั้งหมดไว้แล้วแยกแยะให้ได้ว่าอะไรคือความคิดหลักอะไรคือความคิดรอง
 4. การจัดระเบียบเรื่อง คือ การวางโครงเรื่อง การจัดเนื้อหาจะแบ่งเป็น 3 ตอน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และการสรุป 

3. ผู้ฟัง
   ผู้พูดกับผู้ฟังมีความสัมพันธ์กัน โดยผู้พูดต้องเร้าความสนใจผู้ฟังโดยการใช้ภาษา  เสียงกิริยาท่าทางระหว่างบุคลิกภาพของตนในขณะเดียวกันผู้ฟังก็มีส่วนช่วยในการพูดของผู้พูดบรรลุจุดหมายได้โดยการตั้งใจฟัง และคิดตามอย่างมีเหตุผล

จุดมุ่งหมายของการพูด
    โดยทั่วไปแล้ว การพูดมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. การพูดเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ
2. การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
3. การพูดเพื่อการบันเทิง

หลักการพูดที่ดี
    ผู้พูดต้องการสื่อความเข้าใจกับผู้ฟังให้เกิดความสำเร็จในการส่งสารได้ดีนั้นต้องคำนึงถึงหลักการพูดคือ
    การอ่านออกเสียงให้ถุกต้องตามหลักภาษา

หลักการพูดที่ดีต้องคำนึง
    1. การใช้ภาษา  ต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้เข้าใจและเหมาะสม
    2. ผู้พูดและผู้ฟังต้องมีจุดมุ่งหมายตรงกัน
    3. ออกเสียงพูดให้ชัดเจน
    4. สีหน้า ท่าทาง ยิ้มแย้มแจ่มใส
    5. ท่าทางในการยืนควรสง่า  การใช้ท่าทางประกอบการพูด
    6. ไม่ควรพูดเรื่องเชื้อชาติ สาสนา การเมือง โดยไม่จำเป็น และไม่ควรพูดแต่เรื่องตัวเอง
    7. ไม่พูดหยาบคาย  นินทาผู้อื่นไม่พูดแซงผู้อื่นพูดอยู่และไม่ชี้หน้าคู่สนทนา

มารยาทในการพูด
    1. พูดด้วยวาจาสุภาพ แสดงหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
    2. ไม่พูดอวดตนข่มผู้อื่น ยอมรับความคิดผู้อื่นเป็นสำคัญ
    3. ไม่กล่าววาจาเสียดแซง ก้าวร้าวหรือพูดขัดคอ ใช้วิธีสุภาพเมื่อแสดงความคิดเห็น
    4. รักษาอารมณ์ ในขณะพูดให้ปกติ
    5. หากพูดในขณะผู้อื่นยังฟังไม่จบ ควรกล่าวขอโทษ
    6. ไม่พูดกันข้ามศีรษะผู้อื่น

แหล่งอ้างอิง http:// bhumibol.panyathai.or.th


    

การบูรณาการสาระวิชาภาษาไทย

สาระวิชาภาษาไทย

      การเขียนรายงาน

 - สาระสำคัญ
     การเขียนรายงานเป็นวิธีการนำเสนอการค้นคว้าอย่างเป็นระเบียบและเป็นระบบเป็นแผนแผน เพื่อให้ผู้อื่นได้รับทราบผู้เขียนรายงานต้องรู้จักรูปแบบเป็นแบบแผนตลอดจนการเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมจึงจะสามารถเขียนรายงานให้ถูกต้อง และสามารถสื่อสารได้ตรงตามจุดประสงค์
- พิจารณาหัวข้อ
     จุดเริ่มต้นในการเขียนก็คือ ชื่อเรื่องหัวข้อ การพิจารณาหัวข้อหรือชื่อเรื่องจะนำไปสุ่การเขียนที่ดีเนื้อหาสอดคล้องกับชื่เรื่องอย่างตรงตามเป้าหัวข้อแต่ละหัวข้อ ต้องการเน้นให้แตกต่างกัน
- การรวบรวมข้อมูลในการเขียน
      สิ่งที่จะช่วยได้มากในการเขียนข้อมูล คือการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการเขียนงานที่ยากและกินเวลามากที่สุดในการเขียนรายงาน แม้ว่าเราจะมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่อยากเขียนเพียงใด เราก็ต้องใช้ความคิดอย่างมากว่าเราจะจัดการกับหัวข้อนี้อย่างไรดี จะใส่เนื้อหาอะไรเข้าไปบ้าง
- การวางเค้าโครงเรื่อง
     การวางเค้าโครงเรื่องขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลของเราระดับหนึ่งขณะที่เราอ่านข้อมุลเพื่อเตรียมตัวเขียนเราก็จะเริ่มมองเห็นเค้าโครงเรื่องพร้อมกันไปด้วย แต่เราอ่านข้อมูลจนเรารู้สึกว่า เราได้ข้อมูลที่ต้องการมากพอแล้วเสียก่อนถึงเริ่มลงมือเค้าโครงอย่างจริงจัง
- การเขียน
   เวลาเราเขียนเรามักจะกังวลเกี่ยวกับท่วงทำนองในการเขียน(style)ท่วงทำนองในการเขียนที่ดีที่สุด การเขียนสิ่งที่เราต้องการบอกอย่างชัดเจนและการชับ หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาและโอ่อ่า เล่นสำบัดสำนวน ประโยคที่ยาวสลับซับซ้อนเกิดจากความจำเป็น สำนวนที่เป็นภาษาพูดแบบขาดๆวิ่นๆหรือแบบตลาดๆ


แหล่งอ้างอิง  http://www.jd.in.th/


      การพูด

     การพูดเป็นกิริยาของคนโดยใช้ปากและกล่องเสียงเพื่อเปร่งเสีงออกมา เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยอาศัยภาษาเป็นตัวสื่อความหมายของสิ่งที่พูด การพูดเป็นความสามารถเฉพาะของมนุษย์ แต่ก็มีสัตว์บางประเภทสามารถเลียนแบบเสียงพูดของมนุษย์ได้ เช่น นกแก้ว ผู้ที่พูดไม่ได้เรียกว่าเป็นใบ้

           องค์ประกอบของการพูด
     องค์ประกอบของการพูดมี 3 ประการดังนี้

 1. ผู้พูด
     ผู้พูดเป็นผู้ที่จะต้องถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดเห็น ความรู้สึก ตลอดจนทัศนคติของตนสู่ผู้ฟังโดยการใช้ภาษา เสียง อากับกิริยา และบุคลิกภาพของตนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงมารยาทและคุณธรรมในการพูดด้วย
    สิ่งสำคัญที่ผู้พูดจะต้องยึดไว้เป็นแนวปฎิบัติคือ ผู้พูดจะต้องรู้จักสะสมความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ แล้วรวบรวม เรียบเรียงความรู้ ความคิดเห็นเหล่านี้ให้เป็นระเบียบ เพื่อที่จะให่ถ่ายทอดให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย แจ่มแจ้ง
   การสะสมความรู้ ความคิดและประสบการณ์ ผู้พูดสามารถทำได้หลายอย่าง ผู้พูดจะต้องมีมีทักษะในการพูด การคิด และการฟัง และมีความสนใจที่จะพัฒนาบุคลิกภาพอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้พูดเกิดความมั่นใจในตนเอง

2. สาระหรือเรื่องราวที่พูด
  คือเนื้อหาสาระที่พูดออกไป ซึ่งผู้พูดจะต้องคำนึงอยู่เสมอว่า สาระที่ตนพูดนั้นจะต้องมีประโยชน์ต่อผู้ฟัง อีกทั้งควรเป็นเรื่องที่ทันสมัยใหม่ เนื้อหาจะต้องมีความชัดเจน ผู้พูดจะต้องขยายความคือ ความรูที่นำเสนอต่อผู้ฟังให้มีความกระจ่าง ซึ่งอาจขยายความด้วยการยกตัวอย่างแสดง
       การเตรียมเนื้อหาในการพูดนั้นมีขั้นตอนดังนี้
    1. การเลือกหัวข้อเรื่อง ถ้าผู้พูดมีโอกาสเลือกเรื่องที่จะพูดเอง ควรยึดหลักที่ว่าต้องเหมาะสมกับ
ผู้พูด คือเป็นเรื่องที่ผูพูดมีความรู้ในเรื่องนั้น และเหมาะสมกับผู้ฟังเป็นเรื่องที่ผู้ฟังมีความสนใจ
   2. การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตเรื่องที่จะพูด ผู้พูดจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายแต่ละครั้งให้ชัดเจนว่า ต้องการให้ความรู้โน้มน้าวใจ เพื่อการบันเทิงเพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย นอกจากนี้
ผู้พูดจะต้องกำหนดขอบเขตเรื่องที่จะพูดด้วยว่าจะคลอบคลุมเนื้อหาลึกซึ้งเพียงใด
  3. การค้นคว้าและรวบรวมความรู้ ผู้พูดจะต้องประมวลความรู้ ความคิดทั้งหมดไว้แล้วแยกแยะให้ได้ว่าอะไรคือความคิดหลักอะไรคือความคิดรอง
 4. การจัดระเบียบเรื่อง คือ การวางโครงเรื่อง การจัดเนื้อหาจะแบ่งเป็น 3 ตอน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และการสรุป

3. ผู้ฟัง
   ผู้พูดกับผู้ฟังมีความสัมพันธ์กัน โดยผู้พูดต้องเร้าความสนใจผู้ฟังโดยการใช้ภาษา  เสียงกิริยาท่าทางระหว่างบุคลิกภาพของตนในขณะเดียวกันผู้ฟังก็มีส่วนช่วยในการพูดของผู้พูดบรรลุจุดหมายได้โดยการตั้งใจฟัง และคิดตามอย่างมีเหตุผล

จุดมุ่งหมายของการพูด
    โดยทั่วไปแล้ว การพูดมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. การพูดเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ
2. การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
3. การพูดเพื่อการบันเทิง

หลักการพูดที่ดี
    ผู้พูดต้องการสื่อความเข้าใจกับผู้ฟังให้เกิดความสำเร็จในการส่งสารได้ดีนั้นต้องคำนึงถึงหลักการพูดคือ
    การอ่านออกเสียงให้ถุกต้องตามหลักภาษา

หลักการพูดที่ดีต้องคำนึง
    1. การใช้ภาษา  ต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้เข้าใจและเหมาะสม
    2. ผู้พูดและผู้ฟังต้องมีจุดมุ่งหมายตรงกัน
    3. ออกเสียงพูดให้ชัดเจน
    4. สีหน้า ท่าทาง ยิ้มแย้มแจ่มใส
    5. ท่าทางในการยืนควรสง่า  การใช้ท่าทางประกอบการพูด
    6. ไม่ควรพูดเรื่องเชื้อชาติ สาสนา การเมือง โดยไม่จำเป็น และไม่ควรพูดแต่เรื่องตัวเอง
    7. ไม่พูดหยาบคาย  นินทาผู้อื่นไม่พูดแซงผู้อื่นพูดอยู่และไม่ชี้หน้าคู่สนทนา

มารยาทในการพูด
    1. พูดด้วยวาจาสุภาพ แสดงหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
    2. ไม่พูดอวดตนข่มผู้อื่น ยอมรับความคิดผู้อื่นเป็นสำคัญ
    3. ไม่กล่าววาจาเสียดแซง ก้าวร้าวหรือพูดขัดคอ ใช้วิธีสุภาพเมื่อแสดงความคิดเห็น
    4. รักษาอารมณ์ ในขณะพูดให้ปกติ
    5. หากพูดในขณะผู้อื่นยังฟังไม่จบ ควรกล่าวขอโทษ
    6. ไม่พูดกันข้ามศีรษะผู้อื่น

แหล่งอ้างอิง http:// bhumibol.panyathai.or.th


   การเขียนบันทึก

    การเขียนบันทึก คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ความรู้หรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่างที่มาหรือ วัน เวลา ที่จดบันทึกได้ด้วย

   ประเภทการเขียนบันทึก มี 2 ประเภท ดังนี้
1. การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน เป็นการเขียนเรื่องราวส่วนตัวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือพบเห็นจากการเดินทาง เพื่อเตือนความจำ บันทึกความรู้ ความรู้ ความรู้สึก และข้อคิดเห็น
2. การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเขียนรู้เรื่องราวที่ได้พบเห็น เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการบันทึกความรู้ เตือนความจำ บรรยาย ความรู้สึก และข้อคิดเห็น

   สิ่งที่ต้องมีในการเขียนบันทึกเหตุการณ์
1. วัน เวลา ปี ที่บันทึก
2. แหล่งที่มาของเรื่องราวที่ได้พบเห็น
3. บันทึกเรื่องโดยสรุปย่อสาระสำคัญด้วนสำนวนภาษาของตน ซึ่งอาจจะแสดงข้อคิดเห็น และสรุปไว้ด้วย การเขียนบันทึกจากการค้นคว้า เป็นการสร้างนิสัยการรักการอ่าน ฝึกการป้องกันการลืม และประหยัดเวลา

   ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบันทึก
1. ทำความเข้าใจ เรียงลำดับความคิดและเนื้อเรื่อง
2. บันทึกด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ให้อ่านง่ายและเป็นระเบียบ
3. บันทึกเฉพาะสาระสำคัญ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร ทำไม
4. ฝึกบันทึกอย่างรวดเร็ว เช่น ใช้เครื่องหมายและอักษรขีดเส้นใต้หัวข้อและประเด็นสำคัญ


แหล่งอ้าอิง http://www.oknation.net/



 การแต่งคำประพันธ์

ความหมายของการประพันธ์
   คำประพันธ์ คือ ถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับจำกัดคำและวรรคตอนให้รับสัมผัสกัน ไพเราะ ตามกฏเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์ คำประพันธ์ จำแนกอกเป็น 7 ชนิด คือ โคลง ร่าย ลิลิต กลอน กาพย์ ฉันท์ กล
   คำประพันธ์ที่ดี จะต้องประกอบด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ
      ๑.มีข้อความดี
      ๒.มีสัมผัสดี
      ๓.แต่งถูกต้องตาม 'ลักษณะบังคับ'

   ลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ ในการเรียบเรียงคำประพันธ์ทั้งปวง มีอยู่ ๘ อย่าง คือ
             ๑. ครุ ลหุ 
             ๒. เอก โท 
             ๓. คณะ
             ๔. พยางค์
             ๕. สัมผัส
             ๖. คำเป็นคำตาย
             ๗. คำนำ
             ๘. คำสร้อย

    พยางค์ คือจังหวะเสียง ที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ หรือหน่วยเสียง ที่ประกอบด้วยสระตัวเดียว จะมีความหมาย หรือไม่ก็ตาม คำที่ใช้บรรจุในบทร้อยกรองต่างๆ นั้น ล้วนหมายถึง คำพยางค์ ทั้งสิ้น คำพยางค์นี้ ถ้ามีเสียงเป็น ลหุ จะรวม ๒ พยางค์ เป็นคำหนึ่ง หรือหน่วยหนึ่ง ในการแต่งร้อยกรองก็ได้ แต่ถ้ามี เสียงเป็น ครุ จะรวมกันไม่ได้ ต้องใช้พยางค์ละคำ
   สัมผัสคือลักษณะที่บังคับให้ใช้คำคล้องจองกัน คำที่คล้องจองกันนั้น หมายถึง คำที่ใช้สระ และมาตราสะกดอย่างเดียวกัน แต่ต้องไม่ซ้ำอักษร หรือซ้ำเสียงกัน (สระใอ, ไอ อนุญาตให้ใช้สัมผัสกับ อัย ได้) มี ๒ ชนิด คือ
     ๑. สัมผัสนอก ได้แก่คำที่บังคับให้คล้องจองกัน ในระหว่างวรรคหนึ่ง กับอีกวรรคหนึ่ง
ซึ่งมีตำแหน่งที่ต่างๆ กัน ตามชนิดของคำประพันธ์นั้นๆ สัมผัสนอกนี้ เป็นสัมผัสบังคับ
ซึ่งจำเป็นต้องมี จะขาดไม่ได้ ดังตัวอย่าง ที่โยงเส้นไว้ให้ดู   
    ๒.สัมผัสใน ได้แก่ คำที่คล้องจองกัน และอยู่ในวรรคเดียวกัน จะเป็นสัมผัสคู่ เรียงคำไว้ติดต่อกัน หรือจะเป็นสัมผัสสลับ คือเรียงคำอื่น แทรกคั่นไว้ ระหว่างคำที่สัมผัสก็ได้สุดแต่จะเหมาะ ทั้งไม่มีกฎเกณฑ์จำกัดว่า จะต้องมีอยู่ตรงนั้น ตรงนี้ เหมือนอย่างสัมผัสนอก และไม่จำเป็น จะต้องใช้สระอย่างเดียวกันด้วย เพียงแต่ให้อักษรเหมือนกัน หรือเป็นอักษรประเภทเดียวกัน หรืออักษรที่มีเสียงคู่กัน ก็ใช้ได้
    สัมผัสสระ ได้แก่คำคล้องจองที่มีสระและมาตราสะกดอย่างเดียวกัน เช่น
            

    สัมผัสอักษร ได้แก่ คำคล้องจองที่ใช้ตัวอักษรชนิดเดียวกันหรือตัวอักษรประเภทเดียวกัน
หรือใช้ตัวอักษร ที่มีเสียงคู่กัน ที่เรียกว่า "อักษรคู่" เช่น ข ค ฆ หรือถ ท ธ เป็นต้น เช่น
                   ๑) ใช้ตัวอักษรชนิดเดียวกัน คือใช้อักษรตัวเดียวกันตลอดทั้งวรรค ดังนี้

 แลลิงลิงเล่นล้อ ลางลิง
พาเพื่อนเพ่นพ่านพิง พวกพ้อง
ตื่นเต้นไต่ต่อติง เตี้ยต่ำ
ก่นกู่กันกึกก้อง เกาะเกี้ยวกวนกัน


คำเป็น คือคำที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ในแม่ ก กา และคำที่มีตัวสะกด ในแม่กน กง กม เกย (คำที่มีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกย) รวมทั้ง สระสั้นทั้ง ๔ ตัว คือ อำ ใอ ไอ เอาเช่น ตาดำชมเชยคนหุงข้าวเหนียวในครัวไฟ
     คำตาย คือคำที่ประกอบด้วย สระเสียงสั้น (รัสสระ) ในแม่ ก กา (ยกเว้น อำใอ ไอเอา) และคำที่มีตัวสะกด ในแม่ กก กด กบ เช่น นกกะหรอด กับนกกะปูด จิกพริก ในการแต่งโคลงทุกชนิด ใช้คำตายแทน เอก ได้
    คำนำ คือคำที่ใช้กล่าวขึ้นต้น สำหรับเป็นบทนำ ในคำประพันธ์ เป็นคำเดียวบ้าง เป็นวลีบ้าง เช่น
เมื่อนั้น  บัดนั้น โฉมเฉลา น้องเอ๋ย น้องรัก รถเอ๋ย รถทรง ครานั้น สักวา ฯลฯ บางทีก็ใช้คำนามตรงๆ
เหมือนอย่าง นามอาลปนะ เช่น สุริยา พระองค์ ภมร ดวงจันทร์ ฯลฯ ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

  ปทุมา โสภาหมดจดสดสี
เกิดในใต้ตมวารี แต่ไร้ราคีเปือกตม
ภมร สุนทรมธุรสถ้อยหรรษา
กลั่นกล่าวเร้าดวงวิญญาณ์ วาจาสิ้นลมคมใน

    คำสร้อย คือคำที่ใช้สำหรับลงท้ายบท หรือท้ายบาท ของคำประพันธ์ ซึ่งตามธรรมดามีคำ
ซึ่งมีความหมายอยู่ข้างหน้าแล้ว แต่ยังไม่ครบจำนวนคำ ตามที่บัญญัติไว้ ในคำประพันธ์ จึงต้องเติมสร้อย เพื่อให้มีคำ ครบตามจำนวน และเป็นการเพิ่มสำเนียงให้ไพเราะ ในการอ่านด้วย คำสร้อยนี้ จะเป็นคำนาม คำวิเศษณ์ คำกริยานุเคราะห์ คำสันธาน หรือคำอุทาน ก็ได้ แต่ถ้า
เป็นคำอุทาน ที่มีรูปวรรณยุกต์ ต้องตัดรูปวรรณยุกต์ออก และไม่ต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์
มิฉะนั้น จะขัดต่อการอ่านทำนองเสนาะ และในการใช้นั้น ควรเลือกคำที่ท่านวาง เป็นแบบฉบับไว้
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คำนาม:
คำกริยานุเคราะห์:
คำสันธาน:
คำอุทาน:
คำวิเศษณ์:
พ่อ แม่ พี่
เทอญ นา
ฤา แล ก็ดี
ฮา แฮ เฮย เอย เวย รา อา นอ
บารนี เลย

วิธีการทับดอกไม้แห้ง ครั้งที่2

    วัสดุ-อุปกรณ์
1. ดอกุหลาบ
2. ดอกเยอรบีร่า
3. ดอกมัมสีขาว
4. กระดาษทิชชู
5. กระดาษ A4
6. หนังสือโทรศัพท์
7. กรรไกร
8. กระดาษแข็ง

  
 













ขั้นตอนการปฏิบัติงาน




1. ตัดกระดาษแข็งให้พอดีกับสมุดโทรศัพท์
2. นำดอกเยอรบีร่า ดอกมัมสีขาว ดอกกุหลาบ วางทั้งดอก อย่าให้ซ้อนทับกัน
3. วางกระดาษทิชชูทับลงไป ตามด้วยกระดาษแข็ง ทำหลายๆชั้นจนดอกไม้หมดแล้วหาของหนักๆมาวางทับ
4. วางในที่อากาศถ่ายเทและแห้ง เปิดออกดู 2-3 วันต่อครั้ง ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน
5. วางกระดาษ A4 ลงก่อน เรียงกลีบดอกกุหลาบและใบที่เตรียมไว้ ห่างพอสมควรอย่าซ้อนกัน
6. เมื่อเต็มแล้ว ใช้กระดาษA4อีกแผ่นซ้อนทับ
7. ใช้กระดาษทิชชูพับ 3-4 ชั้น วางซ้อนลงไปอีกนำไปสอดไว้ในสมุดโทรศัพท์ที่มีทำหลายๆชั้นจนหมด

    อุปสรรคและปัญหาในการดำเนินงาน

1.การเตรียมอุปกรณ์ คือ กระดาษทิชชูผิดจากที่กำหนดไว้คือให้นำกระดาษทิชชูแบบม้วนใหญ่มาทดลองแต่ได้แบบม้วนเล็กมาทดลอง
2. ดอกไม้ที่นำมาทดลองไม่ตรงกับการทับแห้งดอกไม้ เพราะถ้าหากทับแห้งแล้วผลงานออกมาอาจจะไม่สวย
3. ไม่มีกระดาษลูกฟูก และของที่มีน้ำหนักที่จะนำมาทับดอกไม้

วิธีการทับดอกไม้แห้ง

     วัสดุ-อุปกรณ์

1. ดอกเบญจมาศ
2. ดอกกล้วยไม้
3. กระดาษ A4
4. สมุดโทรศัพท์
5. กระดาษทิชชู
6. กรรไกร
7. กระเบื้อง

     ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. นำดอกกล้วยไม้มาตัดเอากระเปาะออก แล้วเรียงบนกระดาษ A4 เว้นระยะห่างพอสมควร เพื่อไม่ให้ดอกติดกัน
2. นำกระดาษอีกแผ่นมาทับ แล้วใช้กระดาษทิชชูพับประมาณ 3-4 แผ่น วางทาบ
3. แล้วสอดไว้ในกระเบื้อง สังเกตการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้ 2-3 วันต่อครั้ง ประมาณ 10 วัน บันทึกผลการทดลอง
4. นำดอกเบญจมาศมาเด็ดกลีบเรียงบนกระดาษ เล้นระยะห่างพอสมควร ปิดกระดาษอีกแผ่น แล้วสอดไว้ในสมุดโทรศัพท์
5. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้ 2-3 วันต่อครั้ง ประมาณ 10 วัน บันทึกผลการทดลอง

    อุปสรรคในการดำเนินงาน

1. เตรียมอุปกรณ์มาไม่ครบ
2. ขั้นตอนการทำผิดพลาดไม่ตรงตามที่กำหนด
3. ทำงานไม่เป็นขั้นตอนจึงทำให้เกิดความวุ่นวาย
4. แบ่งการทำงานไม่ถูกต้อง

วัตถุดิบของการทับดอกไม้แห้ง

     ดอกไม้ ได้แก่  ดอกเข็ม ดอกกุหลาบ ดอกอัญชัญ ดอกกล้วยไม้ ดอกหญ้า ดอกเยอรบีร่า ดอกมัมสีขาว ดอกเบญจมาศ ดอกบานไม้รู้โรย

     ใบไม้ ได้แก่  ใบดอกกุหลาบ

ความหมายของบุษบา แปลงโฉม

     บุษบา หมายถึง ดอกไม้

     แปลงโฉม หมายถึง เปลี่ยนรูปร่างเดิมให้ผิดแปลกออก

     บุษบาแปลงโฉม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดอกไม้จากเดิมให้ผิดแปลกออก


    แหล่งอ้างอิง
    http://th.w3dictionary.org/