วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การบูรณาการสาระวิชาภาษาไทย

สาระวิชาภาษาไทย

      การเขียนรายงาน

 - สาระสำคัญ
     การเขียนรายงานเป็นวิธีการนำเสนอการค้นคว้าอย่างเป็นระเบียบและเป็นระบบเป็นแผนแผน เพื่อให้ผู้อื่นได้รับทราบผู้เขียนรายงานต้องรู้จักรูปแบบเป็นแบบแผนตลอดจนการเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมจึงจะสามารถเขียนรายงานให้ถูกต้อง และสามารถสื่อสารได้ตรงตามจุดประสงค์
- พิจารณาหัวข้อ
     จุดเริ่มต้นในการเขียนก็คือ ชื่อเรื่องหัวข้อ การพิจารณาหัวข้อหรือชื่อเรื่องจะนำไปสุ่การเขียนที่ดีเนื้อหาสอดคล้องกับชื่เรื่องอย่างตรงตามเป้าหัวข้อแต่ละหัวข้อ ต้องการเน้นให้แตกต่างกัน
- การรวบรวมข้อมูลในการเขียน
      สิ่งที่จะช่วยได้มากในการเขียนข้อมูล คือการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการเขียนงานที่ยากและกินเวลามากที่สุดในการเขียนรายงาน แม้ว่าเราจะมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่อยากเขียนเพียงใด เราก็ต้องใช้ความคิดอย่างมากว่าเราจะจัดการกับหัวข้อนี้อย่างไรดี จะใส่เนื้อหาอะไรเข้าไปบ้าง
- การวางเค้าโครงเรื่อง
     การวางเค้าโครงเรื่องขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลของเราระดับหนึ่งขณะที่เราอ่านข้อมุลเพื่อเตรียมตัวเขียนเราก็จะเริ่มมองเห็นเค้าโครงเรื่องพร้อมกันไปด้วย แต่เราอ่านข้อมูลจนเรารู้สึกว่า เราได้ข้อมูลที่ต้องการมากพอแล้วเสียก่อนถึงเริ่มลงมือเค้าโครงอย่างจริงจัง
- การเขียน
   เวลาเราเขียนเรามักจะกังวลเกี่ยวกับท่วงทำนองในการเขียน(style)ท่วงทำนองในการเขียนที่ดีที่สุด การเขียนสิ่งที่เราต้องการบอกอย่างชัดเจนและการชับ หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาและโอ่อ่า เล่นสำบัดสำนวน ประโยคที่ยาวสลับซับซ้อนเกิดจากความจำเป็น สำนวนที่เป็นภาษาพูดแบบขาดๆวิ่นๆหรือแบบตลาดๆ


แหล่งอ้างอิง  http://www.jd.in.th/


      การพูด

     การพูดเป็นกิริยาของคนโดยใช้ปากและกล่องเสียงเพื่อเปร่งเสีงออกมา เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยอาศัยภาษาเป็นตัวสื่อความหมายของสิ่งที่พูด การพูดเป็นความสามารถเฉพาะของมนุษย์ แต่ก็มีสัตว์บางประเภทสามารถเลียนแบบเสียงพูดของมนุษย์ได้ เช่น นกแก้ว ผู้ที่พูดไม่ได้เรียกว่าเป็นใบ้

           องค์ประกอบของการพูด
     องค์ประกอบของการพูดมี 3 ประการดังนี้

 1. ผู้พูด
     ผู้พูดเป็นผู้ที่จะต้องถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดเห็น ความรู้สึก ตลอดจนทัศนคติของตนสู่ผู้ฟังโดยการใช้ภาษา เสียง อากับกิริยา และบุคลิกภาพของตนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงมารยาทและคุณธรรมในการพูดด้วย
    สิ่งสำคัญที่ผู้พูดจะต้องยึดไว้เป็นแนวปฎิบัติคือ ผู้พูดจะต้องรู้จักสะสมความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ แล้วรวบรวม เรียบเรียงความรู้ ความคิดเห็นเหล่านี้ให้เป็นระเบียบ เพื่อที่จะให่ถ่ายทอดให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย แจ่มแจ้ง
   การสะสมความรู้ ความคิดและประสบการณ์ ผู้พูดสามารถทำได้หลายอย่าง ผู้พูดจะต้องมีมีทักษะในการพูด การคิด และการฟัง และมีความสนใจที่จะพัฒนาบุคลิกภาพอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้พูดเกิดความมั่นใจในตนเอง

2. สาระหรือเรื่องราวที่พูด
  คือเนื้อหาสาระที่พูดออกไป ซึ่งผู้พูดจะต้องคำนึงอยู่เสมอว่า สาระที่ตนพูดนั้นจะต้องมีประโยชน์ต่อผู้ฟัง อีกทั้งควรเป็นเรื่องที่ทันสมัยใหม่ เนื้อหาจะต้องมีความชัดเจน ผู้พูดจะต้องขยายความคือ ความรูที่นำเสนอต่อผู้ฟังให้มีความกระจ่าง ซึ่งอาจขยายความด้วยการยกตัวอย่างแสดง
       การเตรียมเนื้อหาในการพูดนั้นมีขั้นตอนดังนี้
    1. การเลือกหัวข้อเรื่อง ถ้าผู้พูดมีโอกาสเลือกเรื่องที่จะพูดเอง ควรยึดหลักที่ว่าต้องเหมาะสมกับ
ผู้พูด คือเป็นเรื่องที่ผูพูดมีความรู้ในเรื่องนั้น และเหมาะสมกับผู้ฟังเป็นเรื่องที่ผู้ฟังมีความสนใจ
   2. การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตเรื่องที่จะพูด ผู้พูดจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายแต่ละครั้งให้ชัดเจนว่า ต้องการให้ความรู้โน้มน้าวใจ เพื่อการบันเทิงเพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย นอกจากนี้
ผู้พูดจะต้องกำหนดขอบเขตเรื่องที่จะพูดด้วยว่าจะคลอบคลุมเนื้อหาลึกซึ้งเพียงใด
  3. การค้นคว้าและรวบรวมความรู้ ผู้พูดจะต้องประมวลความรู้ ความคิดทั้งหมดไว้แล้วแยกแยะให้ได้ว่าอะไรคือความคิดหลักอะไรคือความคิดรอง
 4. การจัดระเบียบเรื่อง คือ การวางโครงเรื่อง การจัดเนื้อหาจะแบ่งเป็น 3 ตอน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และการสรุป

3. ผู้ฟัง
   ผู้พูดกับผู้ฟังมีความสัมพันธ์กัน โดยผู้พูดต้องเร้าความสนใจผู้ฟังโดยการใช้ภาษา  เสียงกิริยาท่าทางระหว่างบุคลิกภาพของตนในขณะเดียวกันผู้ฟังก็มีส่วนช่วยในการพูดของผู้พูดบรรลุจุดหมายได้โดยการตั้งใจฟัง และคิดตามอย่างมีเหตุผล

จุดมุ่งหมายของการพูด
    โดยทั่วไปแล้ว การพูดมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. การพูดเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ
2. การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
3. การพูดเพื่อการบันเทิง

หลักการพูดที่ดี
    ผู้พูดต้องการสื่อความเข้าใจกับผู้ฟังให้เกิดความสำเร็จในการส่งสารได้ดีนั้นต้องคำนึงถึงหลักการพูดคือ
    การอ่านออกเสียงให้ถุกต้องตามหลักภาษา

หลักการพูดที่ดีต้องคำนึง
    1. การใช้ภาษา  ต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้เข้าใจและเหมาะสม
    2. ผู้พูดและผู้ฟังต้องมีจุดมุ่งหมายตรงกัน
    3. ออกเสียงพูดให้ชัดเจน
    4. สีหน้า ท่าทาง ยิ้มแย้มแจ่มใส
    5. ท่าทางในการยืนควรสง่า  การใช้ท่าทางประกอบการพูด
    6. ไม่ควรพูดเรื่องเชื้อชาติ สาสนา การเมือง โดยไม่จำเป็น และไม่ควรพูดแต่เรื่องตัวเอง
    7. ไม่พูดหยาบคาย  นินทาผู้อื่นไม่พูดแซงผู้อื่นพูดอยู่และไม่ชี้หน้าคู่สนทนา

มารยาทในการพูด
    1. พูดด้วยวาจาสุภาพ แสดงหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
    2. ไม่พูดอวดตนข่มผู้อื่น ยอมรับความคิดผู้อื่นเป็นสำคัญ
    3. ไม่กล่าววาจาเสียดแซง ก้าวร้าวหรือพูดขัดคอ ใช้วิธีสุภาพเมื่อแสดงความคิดเห็น
    4. รักษาอารมณ์ ในขณะพูดให้ปกติ
    5. หากพูดในขณะผู้อื่นยังฟังไม่จบ ควรกล่าวขอโทษ
    6. ไม่พูดกันข้ามศีรษะผู้อื่น

แหล่งอ้างอิง http:// bhumibol.panyathai.or.th


   การเขียนบันทึก

    การเขียนบันทึก คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ความรู้หรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่างที่มาหรือ วัน เวลา ที่จดบันทึกได้ด้วย

   ประเภทการเขียนบันทึก มี 2 ประเภท ดังนี้
1. การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน เป็นการเขียนเรื่องราวส่วนตัวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือพบเห็นจากการเดินทาง เพื่อเตือนความจำ บันทึกความรู้ ความรู้ ความรู้สึก และข้อคิดเห็น
2. การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเขียนรู้เรื่องราวที่ได้พบเห็น เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการบันทึกความรู้ เตือนความจำ บรรยาย ความรู้สึก และข้อคิดเห็น

   สิ่งที่ต้องมีในการเขียนบันทึกเหตุการณ์
1. วัน เวลา ปี ที่บันทึก
2. แหล่งที่มาของเรื่องราวที่ได้พบเห็น
3. บันทึกเรื่องโดยสรุปย่อสาระสำคัญด้วนสำนวนภาษาของตน ซึ่งอาจจะแสดงข้อคิดเห็น และสรุปไว้ด้วย การเขียนบันทึกจากการค้นคว้า เป็นการสร้างนิสัยการรักการอ่าน ฝึกการป้องกันการลืม และประหยัดเวลา

   ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบันทึก
1. ทำความเข้าใจ เรียงลำดับความคิดและเนื้อเรื่อง
2. บันทึกด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ให้อ่านง่ายและเป็นระเบียบ
3. บันทึกเฉพาะสาระสำคัญ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร ทำไม
4. ฝึกบันทึกอย่างรวดเร็ว เช่น ใช้เครื่องหมายและอักษรขีดเส้นใต้หัวข้อและประเด็นสำคัญ


แหล่งอ้าอิง http://www.oknation.net/



 การแต่งคำประพันธ์

ความหมายของการประพันธ์
   คำประพันธ์ คือ ถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับจำกัดคำและวรรคตอนให้รับสัมผัสกัน ไพเราะ ตามกฏเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์ คำประพันธ์ จำแนกอกเป็น 7 ชนิด คือ โคลง ร่าย ลิลิต กลอน กาพย์ ฉันท์ กล
   คำประพันธ์ที่ดี จะต้องประกอบด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ
      ๑.มีข้อความดี
      ๒.มีสัมผัสดี
      ๓.แต่งถูกต้องตาม 'ลักษณะบังคับ'

   ลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ ในการเรียบเรียงคำประพันธ์ทั้งปวง มีอยู่ ๘ อย่าง คือ
             ๑. ครุ ลหุ 
             ๒. เอก โท 
             ๓. คณะ
             ๔. พยางค์
             ๕. สัมผัส
             ๖. คำเป็นคำตาย
             ๗. คำนำ
             ๘. คำสร้อย

    พยางค์ คือจังหวะเสียง ที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ หรือหน่วยเสียง ที่ประกอบด้วยสระตัวเดียว จะมีความหมาย หรือไม่ก็ตาม คำที่ใช้บรรจุในบทร้อยกรองต่างๆ นั้น ล้วนหมายถึง คำพยางค์ ทั้งสิ้น คำพยางค์นี้ ถ้ามีเสียงเป็น ลหุ จะรวม ๒ พยางค์ เป็นคำหนึ่ง หรือหน่วยหนึ่ง ในการแต่งร้อยกรองก็ได้ แต่ถ้ามี เสียงเป็น ครุ จะรวมกันไม่ได้ ต้องใช้พยางค์ละคำ
   สัมผัสคือลักษณะที่บังคับให้ใช้คำคล้องจองกัน คำที่คล้องจองกันนั้น หมายถึง คำที่ใช้สระ และมาตราสะกดอย่างเดียวกัน แต่ต้องไม่ซ้ำอักษร หรือซ้ำเสียงกัน (สระใอ, ไอ อนุญาตให้ใช้สัมผัสกับ อัย ได้) มี ๒ ชนิด คือ
     ๑. สัมผัสนอก ได้แก่คำที่บังคับให้คล้องจองกัน ในระหว่างวรรคหนึ่ง กับอีกวรรคหนึ่ง
ซึ่งมีตำแหน่งที่ต่างๆ กัน ตามชนิดของคำประพันธ์นั้นๆ สัมผัสนอกนี้ เป็นสัมผัสบังคับ
ซึ่งจำเป็นต้องมี จะขาดไม่ได้ ดังตัวอย่าง ที่โยงเส้นไว้ให้ดู   
    ๒.สัมผัสใน ได้แก่ คำที่คล้องจองกัน และอยู่ในวรรคเดียวกัน จะเป็นสัมผัสคู่ เรียงคำไว้ติดต่อกัน หรือจะเป็นสัมผัสสลับ คือเรียงคำอื่น แทรกคั่นไว้ ระหว่างคำที่สัมผัสก็ได้สุดแต่จะเหมาะ ทั้งไม่มีกฎเกณฑ์จำกัดว่า จะต้องมีอยู่ตรงนั้น ตรงนี้ เหมือนอย่างสัมผัสนอก และไม่จำเป็น จะต้องใช้สระอย่างเดียวกันด้วย เพียงแต่ให้อักษรเหมือนกัน หรือเป็นอักษรประเภทเดียวกัน หรืออักษรที่มีเสียงคู่กัน ก็ใช้ได้
    สัมผัสสระ ได้แก่คำคล้องจองที่มีสระและมาตราสะกดอย่างเดียวกัน เช่น
            

    สัมผัสอักษร ได้แก่ คำคล้องจองที่ใช้ตัวอักษรชนิดเดียวกันหรือตัวอักษรประเภทเดียวกัน
หรือใช้ตัวอักษร ที่มีเสียงคู่กัน ที่เรียกว่า "อักษรคู่" เช่น ข ค ฆ หรือถ ท ธ เป็นต้น เช่น
                   ๑) ใช้ตัวอักษรชนิดเดียวกัน คือใช้อักษรตัวเดียวกันตลอดทั้งวรรค ดังนี้

 แลลิงลิงเล่นล้อ ลางลิง
พาเพื่อนเพ่นพ่านพิง พวกพ้อง
ตื่นเต้นไต่ต่อติง เตี้ยต่ำ
ก่นกู่กันกึกก้อง เกาะเกี้ยวกวนกัน


คำเป็น คือคำที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ในแม่ ก กา และคำที่มีตัวสะกด ในแม่กน กง กม เกย (คำที่มีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกย) รวมทั้ง สระสั้นทั้ง ๔ ตัว คือ อำ ใอ ไอ เอาเช่น ตาดำชมเชยคนหุงข้าวเหนียวในครัวไฟ
     คำตาย คือคำที่ประกอบด้วย สระเสียงสั้น (รัสสระ) ในแม่ ก กา (ยกเว้น อำใอ ไอเอา) และคำที่มีตัวสะกด ในแม่ กก กด กบ เช่น นกกะหรอด กับนกกะปูด จิกพริก ในการแต่งโคลงทุกชนิด ใช้คำตายแทน เอก ได้
    คำนำ คือคำที่ใช้กล่าวขึ้นต้น สำหรับเป็นบทนำ ในคำประพันธ์ เป็นคำเดียวบ้าง เป็นวลีบ้าง เช่น
เมื่อนั้น  บัดนั้น โฉมเฉลา น้องเอ๋ย น้องรัก รถเอ๋ย รถทรง ครานั้น สักวา ฯลฯ บางทีก็ใช้คำนามตรงๆ
เหมือนอย่าง นามอาลปนะ เช่น สุริยา พระองค์ ภมร ดวงจันทร์ ฯลฯ ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

  ปทุมา โสภาหมดจดสดสี
เกิดในใต้ตมวารี แต่ไร้ราคีเปือกตม
ภมร สุนทรมธุรสถ้อยหรรษา
กลั่นกล่าวเร้าดวงวิญญาณ์ วาจาสิ้นลมคมใน

    คำสร้อย คือคำที่ใช้สำหรับลงท้ายบท หรือท้ายบาท ของคำประพันธ์ ซึ่งตามธรรมดามีคำ
ซึ่งมีความหมายอยู่ข้างหน้าแล้ว แต่ยังไม่ครบจำนวนคำ ตามที่บัญญัติไว้ ในคำประพันธ์ จึงต้องเติมสร้อย เพื่อให้มีคำ ครบตามจำนวน และเป็นการเพิ่มสำเนียงให้ไพเราะ ในการอ่านด้วย คำสร้อยนี้ จะเป็นคำนาม คำวิเศษณ์ คำกริยานุเคราะห์ คำสันธาน หรือคำอุทาน ก็ได้ แต่ถ้า
เป็นคำอุทาน ที่มีรูปวรรณยุกต์ ต้องตัดรูปวรรณยุกต์ออก และไม่ต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์
มิฉะนั้น จะขัดต่อการอ่านทำนองเสนาะ และในการใช้นั้น ควรเลือกคำที่ท่านวาง เป็นแบบฉบับไว้
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คำนาม:
คำกริยานุเคราะห์:
คำสันธาน:
คำอุทาน:
คำวิเศษณ์:
พ่อ แม่ พี่
เทอญ นา
ฤา แล ก็ดี
ฮา แฮ เฮย เอย เวย รา อา นอ
บารนี เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น